

โกงกางใบใหญ่ Rhizophora mucronata Poir
วงศ์ : RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น : กงกอน (ชุมพร) กงกางนอก (เพชรบุีรี) กงเกง (นครปฐม) พังกาใบใหญ (ใต้)
เป็นไม้ไม่ผลัดใบที่มีขนาดใหญ่ สูง ๓๐ - ๔๐ เมตร เปลือกหยาบ สีเทาถึงดำ แตกเป็นร่องทั้งตามยาวและขวาง หรือแตกเป็นร่องตารางสี่เหลี่ยม หากทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่ด้านในของเปลือกจะเป็นสีเหลืองถึงส้ม รอบๆ โคนต้น มีรากค้ำจุนทำหน้าที่พยุงลำต้น บางครั้งพบว่ามีรากอากาศที่งอกจากกิ่งอยู่บ้าง แต่ไม่มากนัก
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตางข้ามสลับทิศทางกัน แผ่นใบรูปรีกว้าง ปลายใบแหลม มีติ่งแหลมเล็กและแข็ง ใบเกลี้ยง ท้องใบสีออกเหลือง มีจุดสีดำเล็กๆ กระจายเต็มท้องใบ
ดอก ออกเป็นช่อที่ง่ามใบ มีก้านช่อดอก หนึ่งช่อมี ๒ - ๑๒ ดอก กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ สีเหลืองอ่อน กลีบดอก ๔ กลีบ สีขาวมีขน ออกดอกราวเดือนกันยายน - ตุลาคม
ผล ผิวหยาบยาว ขนาด๒ - ๓.๘ ซม. สีน้ำตาล - เขียว ฝักจะงอกตั้งแต่ผลยังติดอยู่บนต้น ฝักสีเขียวมีตุ่ม ฝักแก่ในราวเดือนมีนาคม - สิงหาคม
...............................................................................................................
โกงกางใบเล็ก Rhizophora apiculata Bl.
วงศ์ : RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น : โกงกาง (ระนอง) พังกาใบเล็ก (พังงา) พังกาทราย (กระบี่)
เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ขนาดกลาง - ใหญ่ สูง ๒๐ - ๔๐ เมตร เปลือกสีเทาดำ ผิวเปลือกเรียบแตกเป็นร่องเล็กตามยาวของลำ้ต้น เด่นชัดกว่าร่องตามขวาง เมื่อทุบเปลือกทิ้งไว้สักครู่ จะพบว่าด้านในของเปลือกเป็นสีแสดอมแดง เรือนยอดแคบรูปปิระมิด รอบๆ บริเวณโคนต้น มีรากค้ำจุน ทำหน้าที่พยุงลำต้น และมักมีรากอากาศ ซึ่งเกิดจากกิ่งตอนบนเป็นจำนวนมาก
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทางกัน แผ่นใบรูปรีปลายแหลม ใบเกลี้ยง ท้องใบสีเขียวอมดำ มีจุดสีดำเล็กๆ กระจายเต็มท้องใบ
ดอก ออกเป็นช่อที่ง่ามใบ หนึ่งชื่อมี ๒ ดอก ไม่มีก้านดอก กลีบเลี้้ยงสี่กลีบสีเขียวอมเหลือง กลีบดอก ๔ กลีบสีขาว ออกดอกราวเดือนกันยายน - มกราคม
ผล ผิวหยาบยาว ๒ - ๓ ซม. สีน้ำตาล ฝักจะงอกตั้งแต่ผลยังติดอยู่บนต้น ฝักผิวเรียบสีเขียวจะหลุดหล่นได้เอง ฝักแก่ในราวเดือนเมษายน - ธันวาคม
..............................................................................................................
พังกาหัวสุมดอกขาว Bruguiera sexangula Poir
วงศ์ : RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น : ขลัก (ชุมพร) พังกาหัวสุม (กระบี่ ตรัง) ประสักขาว, ประสักหนู
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐ - ๓๐ เมตร โคนต้นมีพูพอนสูง รากหายใจรูปคล้ายเข่า
มีรากค้ำจุนขนาดเล็ก กิ่งอ่อนสีเขียว บางครั้งเหมือนถูกย้อมด้วยสีแดง เปลือกสีเทาเข้มถึงสีน้ำตาลอมเทา ผิวเปลือกหยาบเป็นสะเก็ด แตกเป็นร่องตามยาว ช่องอากาศขนาดใหญ่มีน้อย มีเฉพาะที่พูพอน
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทาง แผ่นใบรูปรีปลายแหลม ก้านใบยาว สีเหลืองอ่อนหรือเขียว
ดอก ดอกเดี่ยวออกตามง่ามใบ มีก้านดอก กลีบเลี้ยง ๑๐ - ๑๒ กลีบ สีเหลืองอ่อนหรือเขียวอมเหลือง หรือเขียวอมชมพู
ผล รูปคล้ายลูกข่าง ยาว ๒ - ๓ ซม. ผิวเรียบ ฝักจะงอกตั้งแต่ผลยังติดอยู่บนต้น ฝักรูปซิการ์สีเขียว ออกดอกและผลเกือบตลอดปี
...............................................................................................................
แสมทะเล Avicennia marina ZForskX Vierh
วงศ์ : AVICENNIACEAE
ชื่ออื่น : ปีปีดำ (ภูเก็ต) แสมขาว พีพีเล
เป็นไม้ขนาดเล็ก สูงประมาณ ๕ - ๗ เมตร มีลักษณะเป็นพุ่ม ส่วนใหญ่มี ๒ ลำต้นหรือมากกว่า ไม่มีพูพอน เรือนยอดโปร่ง มีรากหายใจรูปคล้ายดินสอ ยาว ๑๐ - ๒๐ ซม.เหนือผิวดิน เปลือกเรียบเป็นมัน สีขาวอมเทา หรือขาวอมชมพู ต้นที่มีอายุมากเปลือกจะหลุดออกเป็นเกล็ดบางๆ คล้ายแผ่นกระดาษ และผิวของเปลือกใหม่จะมีสีเขียว
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม มีก้านใบ แผ่นใบรูปรีปลายใบมนแหลมเล็กน้อย ขอบใบม้วนไปด้านหลัง ผิวด้านบนเป็นมันสีเขียวเข้ม ท้องใบสีขาวมีนวล
ดอก ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง มีก้านช่อดอกแต่ละช่อมี ๘ - ๑๔ ดอก มีก้านดอก ดอกมีขนาดเล็ก กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ กลีบดอก ๔ กลีบ สีส้มอมเหลือง ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน
ผล เปลือกอ่อนนุ่ม สีเขียวอมเหลืองมีขนนุ่ม ผลแก่เปลือกจะแตกม้วยเป็นหลอดแต่ละผลมี ๑ เมล็ด
..............................................................................................................
สำมะง่า Clerodendrum inerme (L.) Gaertner
วงศ์ : LABIATAE
ชื่ออื่น : สำลีงา สำมะลี่งา (กลาง ตะวันออก) เขี้ยวงู (ประจวบฯ) สัมเนรา (ระนอง) สักขรีย่าน (ชุมพร) สำปันงา (สตูล)
เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สูง ๑ - ๒ เมตร ลำต้นทอดนอน แผ่กระจัดกระจายโดยรอบ มีขนนุ่มปกคลุมตามส่วนอ่อนๆ ทั้งหมด
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรีปลายใบแหลม ผิวใบเกลี้ยงค่อนข้างหนา ก้านใบสั้นมีขนนุ่ม
ดอก ออกดอกตามง่ามใบและปลายกิ่ง เป็นช่อกระจุก ๓ ดอก มีก้านช่อดอกและก้านดอก กลีบเลี้ยงรูประฆัง กลีบดอกเป็นหลอดเล็กบานตรงปลาย สีขาว มี ๕ กลีบ เกสรตัวผู้ยาวยื่นพ้นกลีบ ดอกสีส้มอมม่วง
ผล กลมเป็นร่อง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ มีกลีบเลี้ยงติดที่ขั้วผล เมล็ดแข็งมากมี ๑ - ๔ เมล็ด ออกดอกผลเกือบตลอดปี
...............................................................................................................
ลำแพน Sonneratia ovata Back
วงศ์ : SONNERATIACEAE
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง ๔ - ๑๒ เมตร กิ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยม เปราะ รากหายใจรูปคล้ายหมุด ยาว ๑๕ - ๓๐ ซม. เหนือผิวดิน
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปเกือบกลมสีเขียวเข้ม มีก้านใบ
ดอก ออกเดี่ยวหรือเป็นช่อกระจุกช่อละ ๓ ดอก กลีบเลี้ยงมี ๖ กลีบ สีเหลืองอมเขียว
ผล ผลกลมแป้น มีเนื้อและมีหลายเมล็ด รับประทานได้ มีรสเปรี้ยว ออกดอกและผลตลอดปี
...............................................................................................................
ลำพู Sonneratia caseolaris (L) Engl
วงศ์ : SONNERATIACEAE
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง - ใหญ่ สูง ๘ - ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ กิ่งห้อยย้อยลง ต้นที่อายุน้อยเปลือกเรียบแต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบแตกเป็นร่องลึก เป็นสะเก็ด รากหายใจยาว ๗๐ ซม.หรือยาวกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางที่โคนราก ๔ - ๕ ซม. เรียวแหลมไปทางปลายราก
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ใบเรียวปลายใบแหลมมีติ่งเล็กๆ มีก้านใบค่อนข้างแบนสีแดงเรื่อๆ
ดอก ออกดอกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง ๘ กลีบเป็นแฉกลึก กลีบดอกสีแดงเข้ม เกสรตัวผู้เป็นก้านยาวจำนวนมาก โคนสีแดงปลายสีขาว ร่วงง่าย ออกดอกเดือนสิงหาคม - ธันวาคม
ผล ผลกลมแป้นมีเนื้อและมีเมล็ดหลายเมล็ดฝังอยู่ในเนื้อ สีเขียวอ่อน ผลสุกมีกลิ่นหอมและนิ่ม ออกผลเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์
...............................................................................................................
ตะบูนดำ Xylocarpus moluccensis Roem
วงศ์ : MELIACEAE
ชื่ออื่น : ตะบูน ตะบัน (กลาง ใต้)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๑๕ - ๒๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นตรง โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย เรือนยอดเป็นพุ่มกลม เปลือกขระขระ สีน้ำตาลเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว ต้นแก่เปลือกลอกเป็นแถบแคบๆ เปลือกหนาประมาณ ๐.๓ - ๐.๕ ซม. เนื้อไม้สีน้ำตาล มีรากหายใจรูปคล้่ายกรวยคว่ำ กลม หรือแบน ปลายมน ยาว ๒๐ - ๔๐ ซม. จากผิวดิน
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวเรียงสลับ แผ่นใบรีปลายมน ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน และจะเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองก่อนที่จะร่วง
ดอก ออกดอกตามง่ามใบ เป็นช่อแยก ช่อดอกยาวประกอบด้วยดอกจำนวนมาก กลีบเลี้ยง ๔ กลีบ กลีบดอก ๔ กลีบสีขาวคลีม ออกดอกพร้อมกับแตกใบใหม่ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม
ผล ค่อนข้างกลมเป็นร่อง สีเขียว มี ๗ - ๑๑ เมล็ด
......................................................................................................................................................................
ฝาดดอกขาว Lumnitzera racemosa Willd
วงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่ออื่น : ฝาด (กลาง ใต้) ขวาด (สมุทรสาคร) กะลูง (ชุมพร)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง ๘ เมตร เปลือกขระขระสีน้ำตาลแดง มีรากหายใจไม่เด่นชัด
ใบ เป็นใบเดี่ยวเวียนรอบกิ่ง แผ่นใบแคบปลายใบกลมเว้าตื้นๆ สีเขียวอ่อน
ดอก ออกที่ปลายกิ่งและง่ามใบเป็นช่อ กลีบเลี้ยง ๕ กลีบสั้น ๆ กลีบดอก ๕ กลีบ สีขาว เกสรตัวผู้ ๑๐ อัน
ผล ทรงรีมีเหลี่ยมมน ผิวเกลี้ยงหรือมีขนนุ่ม
...............................................................................................................
เหงือกปลาหมอดอกขาว Acanthuh Ebracteatus Vahl
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : เหงือกปลาหมอ (กลาง) แก้มหมอ
เป็นไม้พุ่มลำต้นเลื้อย สูง ๑ - ๒ เมตร ลำต้นอวบมีหนาม ลำต้นเป็นโพรงไม่มีเนื้อไม้ ตั้งตรง แต่เมืออายุมากจะเอนนอน ลำต้นแก่จะแตกกิ่งออกไป มีรากค้ำจุนและมีรากอากาศเกิดจากลำต้นที่เอนนอน ชอบขึ้นในบริเวณน้ำกร่อย - จืด จะไม่พบเหงือกปลาหมอดอกขาวในเขตน้ำเค็มจัด
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก ก้านใบยาวปลายใบหยักเป็นหนาม แผ่นใบเป็นคลื่น
ดอก ออกดอกที่ปลายกิ่งแบบช่อ ดอกย่อยไม่มีก้านดอก กลีบดอกสีขาว
ผล ยาวรีขนาดเล็ก สีเขียวผิวมัน
..............................................................................................................
แคทะเล Dolichandrone spathacea Schum
วงศ์ : BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น แคน้ำ แคนา แคป่า (กลาง) แคตุ้ย แคฝา แคปี่ฮ่อ แคแหนแห้ (เหนือ)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ สูง ๔ - ๑๐ เมตร แตกกิ่งก้านน้อย เรือนยอดแผ่กว้าง แต่ละส่วนเมื่อแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีดำ เปลือกสีเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องตื้นๆ มีช่องอากาศตามลำต้น
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงตรงข้ามกัน ก้านใบยาว รูปใบหอกปลายเรียวแหลม
ดอก เป็นแบบช่อ ช่อดอกสั้นออกตามปลายกิ่ง แต่ละช่อมี ๓ - ๗ ดอก มีกลิ่นหอม กลีบดอกสีขาว มี ๕ กลีบ คล้ายปากแตรและยับย่น มีเกสรตัวผู้ ๒ คู่ ออกดอกเกือบตลอดปี แต่จะออกมากเดือนเมษายน - พฤษภาคม
ผล เป็นฝักเรียวยาว บิดเป็นเกลียว เมื่อแห้งแตกเป็นสองซีก มีเมล็ดจำนวนมาก ออกผลเดือนกรกฎาคม - กันยายน
...............................................................................................................
มะนาวผี Merope angulata (Kurz) Swingle
วงศ์ : RUTACEAE
เป็นไม้พุ่มหนาม สูง ๒ - ๓ เมตร มีหนามเกิดตามลำต้น ยาว ๑ - ๓ ซม. เกิดขึ้นเป็นคู่บนกิ่ง มะนาวผีมักขึ้นด้านในสุดของป่าชายเลนและตามชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนแข็ง เป็นพันธุ์ไม้หายากชนิดหนึ่งของป่าชายเลน
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ ใบรีปลายมน มีก้านใบ ผิวเกลี้ยงทั้งสองด้าน
ดอก เป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นคู่ที่ง่ามใบ มีกลิ่นหอม กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ กลีบดอก ๕ กลีบ เกสรตัวผู้ ๑๐ อัน ออกดอกตลอดปี
ผล เป็นผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงสามเหลี่ยม สีเขียวหรือเขียวอมเหลือง
...............................................................................................................
หงอนไก่ทะเล Heritiera littoralis Ait
วงศ์ : STERCULIACEAE
ชื่ออื่น ไข่ควาย (กระบี่) ดุหุน (ตรัง) หงอนไก่ (กลาง สุราษฎร์ธานี)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก - กลาง สูง ๕ - ๒๐ เมตร มีพูพอนน้อย ลำต้นมักบิดและคดงอ เปลือกสีน้ำตาลถึงเทาเข้ม หยาบเป็นเกร็ด มีรอยแตกเป็นร่องลึกตามยาว เนื้อไม้สีขาว
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับเป็นกลุ่มอยู่บนปลายกิ่ง แผ่นใบรูปรี ปลายใบกลมหรือแหลม ใบหนา ผิวด้านบนเกลี้ยง ท้องใบเป็นเกล็ดสีเทา - เงิน เห็นเส้นใบเด่นชัด
ดอก ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่งเป็นช่อแยกแขนง ดอกเล็กรูประฆังมีขนนุ่ม ด้านนอกสีน้ำตาลแกมเขียว ด้านในสีแดงส้ม ออกดอกเดือนมีนาคม - พฤษภาคม และเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน
ผล รูปทรงรี เปลือกเป็นเส้นใยอัดแน่น ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล มีเมล็ด ๑ เมล็ด
...............................................................................................................
หลุมพอทะเล Intsia bijuga (Colebr) O.Ktze
วงศ์ : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่ออื่น ประดู่ทะเล (กลาง) งืบบาลาโอ๊ะ (มาลายู - นราธิวาส)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐ - ๔๐ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นบางครั้งคดงอ เปลือกเรียบ สีเทาถึงเทาแกมชมพู เปลือกชั้นในสีส้มถึงชมพู
ใบ เป็นใบประกอบปลายคู่ ใบย่อยมักมี ๒ คู่ แผ่นใบรีกว้างปลายใบเว้า มีก้านใบ ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน โคนก้านขยายใหญ่
ดอก ออกที่ปลายกิ่งแบบช่อแยกแขนง มีขนนุ่มละเอียด กลีบดอก ๑ กลีบ สีขาวหรือชมพู ออกดอกประมาณเดือนธันวาคม - เมษายน
ผล เป็นฝักแข็ง แบน ฝักอ่อนสีเขียวบางมากคล้ายใบ เมื่อแ่ก่ฝักหนาขึ้นเป็นสีน้ำตาลเข้ม แต่ละฝักมี ๔ - ๘ เมล็ด
...............................................................................................................
จาก Nypa fruticans Wurnb
วงศ์ : PALMAE
ชื่ออื่น อัตต๊ะ (มลายู - ใต้)
เป็นไม้จำพวกปาล์ม มีขนาดเล็ก ลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน มีรากอวบอ้วน อัดแน่นบริเวณกอ เหง้ามีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มักจะจมอยู่ในโคลนและอยู่ใต้น้ำขณะน้ำท่วม
ใบ เป็นแบบขนนก แข็งตั้งตรงขึ้น คล้ายใบมะพร้าว
ดอก ออกที่ง่ามใบบริเวณใกล้ปลายยอด เป็นช่อเชิงลดขนาดสั้นสีเหลืองเข้ม
ผล ออกเป็นช่อแต่ละช่อมีจำนวนมากอัดกันแน่น เปลือกเป็นเส้นใยสีดำ เมื่อแก่เมล็ดรูปไข่สีขาว รับประทานได้
..............................................................................................................
สักขี Dalbergia candenatensis (Dennst) Prain
วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น ย่านมันเปรียง
เป็นไม้พุ่มรอเลื้อยขึ้นคลุมไม้อื่น สูง ๓ - ๕ เมตร ขึ้นตามริมชายฝั่งแม่น้ำ ในเขตป่าชายเลนด้านใน
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่เรียงสลับ ใบรูปไข่ผิวด้านบนเกลี้ยง ท้องใบมีขนสั้นๆ
ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงอัดกันแน่นตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว
ผล เป็นฝักแบน หัวท้ายแหลมสีน้ำตาลแดง มี ๑ เมล็ด พบน้อยมากที่มี ๒ เมล็ด
..............................................................................................................
หวายลิง Flagellaria indica L.
วงศ์ : FLAGELLARIACEAE
เป็นไม้เลื้อยลำต้นแข็งคลายหวาย เส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๓ - ๐.๘ ซม. แตกกิ่งยาวเมตรหรือบางครั้งอาจยาวได้ถึง ๑๐ เมตร ลำต้นมีสีเขียว แต่เมื่อลำต้นแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเทา ลำต้นเหนียว ใช้ทำเชือกหรือทำเครื่องจักสาน
ใบ เรียวยาวปลายแหลมม้วนงอและแข็งสำหรับเกาะไม้อื่นเพื่อเลื้อยสูงขึ้น กาบใบหุ้มลำต้นเรียงเวียนซ้อนทับกัน
ดอก ออกเป็นช่อแยกแขนงสั้นๆ ที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก
ผล กลมปลายผลมีติ่งแหลม ผลอ่อนสีเขียวและเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อแก่จัดเป็นสีชมพูอมแดง แต่ละผลมี ๑ เมล็ด
................................................................................................................
ถอบแถบน้ำ Derris trifoliate Lour
วงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่ออื่น แควบทะเล ถอบแถบทะเล ผักแถบ (กลาง) ทับแถบ (สมุทรสงคราม) ถั่วน้ำ (นราธิวาส)
เป็นไม้เถา ลำต้นมักเลื้อยทอดไปตามพื้นดิน ยาว ๕ - ๑๐ เมตร กิ่งเรียวยาว
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ มีใบย่อย ๑ - ๒ คู่ แผ่นใบรูปรีปลายแหลม ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน
ดอก ออกเป็นช่อเตี้ยตามง่ามใบ ดอกขนาดเล็กสีขาวก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อน
ผล เป็นฝัก ทรงแบนเบี้ยวเกือบกลม มี ๑ เมล็ด
...............................................................................................................
เป้งทะเล Phoenix paludosa Roxb
วงศ์ : PALMAE
ชื่ออื่น เป้ง
เป็นพวกปาล์ม มีลำต้นรูปทรงกระบอก สูง ๔ - ๑๐ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๕ - ๙ ซม. ขึ้นเป็นกอ มีใบหนาแน่นเป็นกลุ่ม ส่วนบนของลำต้นมีก้านใบ ซึ่งมีหนามติดอยู่และมีกาบ ซึ่งเป็นเส้นใยสีเทาหุ้ม
ใบ ใบย่อยเล็ก แคบยาว ค่อนข้างแข็ง ปลายใบห้อยลง ก้านใบด้านล่างมีหนามแหลมและแข็ง
ดอก ออกเป็นช่อตั้งตรงที่ง่ามใบ มีกาบขนาดใหญ่หุ้มแต่กาบจะหลุดไป
ผล รูปไข่อ่อนนุ่ม ผลแก่สีส้มมีเมล็ดเดียว
...............................................................................................................
ปรงทะเล Acrostichum aureum L.
วงศ์ : PTERIDACEAE
ชื่ออื่น ปรงทอง ปรงไข่ ปรงใหญ่ บีโย (มลายู - สตูล)
เป็นพืชพวกเฟิร์น มีลำต้นเป็นเหง้าอยู่ใ้ต้ดิน ชูส่วนของใบขึ้นมาเป็นกอ ที่เหง้ามีเกล็ดใหญ่สีน้ำตาลคล้ำ โคนต้นมีรากค้ำยัน มักขึ้นเป็นกลุ่มตามที่ลุ่มชื้นแฉะด้านหลังของป่าชายเลน ใบอ่อนกินได้
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก มี ๑๕ - ๓๐ คู่ เรียงสลับ รูปใบยาวปลายมนและมีติ่งหนามสั้นๆ ผิวเรียบมัน ด้านหลังของใบย่อยเป็นอับสปอร์และมีขนเล็กน้อย ขยายพันธุ์โดยสปอร์และลำต้น
.....................................................................................................................................
ตาตุ่มทะเล Excoecaria agallocha L.
วงศ์ : EUPHORBIACEAE
ชื่ออื่น ตาตุ่ม (กลาง) บูตอ (มลายู - ปัตตาีนี)
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็ก - กลาง สูง ๑๐ - ๑๘ เมตร มียางสีขาวมาก ส่วนมากลำต้นจะตรง มักแตกกิ่งใบในระดับต่ำ บางครั้งดูคล้ายไม้พุ่ม เปลือกเรียบถึงแตกเป็นร่อง สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลอมเทา กิ่งอ่อนมีช่องอากาศเล็กๆ เด่นชัด รากหายใจแผ่กระจายไปตามผิวดิน
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปใบรี ปลายใบกลมหรือเรียวแหลม ใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน ผิวมัน และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงอิฐเมื่อใบใกล้ร่วง
ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กมากติดกันเป็นกระจุก ช่อดอกเพศผู้มีสีเหลืองแกมเขียว
ผล มี ๓ พู รูปเกือบกลม ผลเกลี้ยงสีเขียวถึงน้ำตาลเข้ม เมล็ดสีดำ ออกดอกผลเดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน
...............................................................................................................
โปรงขาว Ceriops decandra Ding Hou
วงศ์ :RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น โปรง โปรงหนู ปะโลง โหลง (กลาง) กระปูโลง โปลง โปรง (เพชรบุรี) แหม (ภูเก็ต) แสมมาเนาะ (สตูล)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กกึ่งไม้พุ่ม สูง ๒ - ๗ เมตร โคนต้นมีพูพอนเล็กน้อย พองขยายออก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วน สั้น กลม ยาว ๖ - ๑๓ ซม. เหนือผิวดิน เรือนยอดกลม แน่นทึบ เปลือกสีเทาอ่อน เรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ช่องอากาศสีน้ำตาลอมชมพู
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามสลับทิศทางเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบรูปรีปลายมนกลมหรือเว้าตื้นๆ มีก้านใบ ผิวด้านบนมันสีเขียวเข้ม ท้องใบสีซีด
ดอก ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบ แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ก้านช่อดอกหนาสั้น กลีบเลี้ยง ๕ กลีบ กลีบดอกสีขาวก่อนจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
ผล เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ัยังติดอยู่บนต้น ฝักรูปทรงกระบอกปลายเรียว สีเขียวโคนสีม่วงเข้ม ออกดอกและผลเกือบตลอดปี
.............................................................................................................
ขลู่ Pluchea indica Less.
วงศ์ : COMPOSITAE
ชื่ออื่น ขลู (ใต้) หนวดงิ้ว หนวดงั่ว หนาดวัว หนาดงัว (อุดรธานี) หล่วงไซ (จีนแ้ต้จิ๋ว) หลวนซี (จีน)
เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก พุ่มตั้งตรง ขึ้นอยู่รวมกันเป็นกอ แตกกิ่งก้านมาก สูง ๑ - ๑.๕ เมตร มีขนเล็กละเอียดปกคลุมตามกิ่ง
ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงตัวสลับ รูปไข่ปลายมน ขอบใบหยักมีขนเล็กน้อย มีกลิ่นฉุน
ดอก ออกเป็นช่อกระจุกแน่นที่ปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก กลีบดอกแบบเส้นด้าย สีม่วงอ่อน
ผล เป็นแบบผลแห้งเมล็ดล่อน
...............................................................................................................
ตีนเป็ดทะเล Cerbera odollam Gaertner
วงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น สั่งลา (กระบี่) ตีนเป็ด ตีนเป็ดน้ำ (กลาง) ตุม (กาญจนบุรีุ)
เป