

ประวัติ
ครูเคล้า คชาฉัตร เกิดเมื่อ ๑๕ ตุลาคม ๒๔๔๗ ที่ตำบลบ่อพลับ อำเภอเมืองสงขลา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียน มหาวชิราวุธ และสอบได้วุฒิครูมูลสามัญ ระดับประกาศนียบัตรครูประถม (ป.ป.) เข้ารับราชการเป็นครูชั้นจัตวาโรงเรียนมหาวชิราวุธ เมื่อ ๑ มิถุนายน ๒๔๖๘ ได้เลื่อนชั้นเป็นครูตรี เมื่อ ๑ มกราคม ๒๕๐๕ ครูเคล้าถึงแก่กรรมในระหว่างรับราชการ เมื่อ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๕ ด้วยโรคฝีฝักบัว ขณะอายุ ๕๗ ปี รวมระยะเวลาเป็นครูโรงเรียนมหาวชิราวุธ ๓๗ ปี
ในสมัยที่หลวงชัยจิตกรรม (ชัย จิตรกุล) เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนมหาวชิราวุธ คนที่ ๘ คณะนักเรียนเก่าได้จัดตั้งสมาคมนักเรียนเก่าเป็นผลสำเร็จ จดทะเบียนตามกฎหมาย ณ วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๗๗ เนื่องจากหลวงชัยจิตรกรรมมีความรู้ทางวิจิตรศิลป์ จึงได้นำเครื่องหมาย “วชิราวุธ” ซึ่งเป็นตราประจำรัชกาลที่ ๖ มาเป็นตราโรงเรียน พร้อมกันนั้น ท่านเจ้าคุณพระวินัยโมลี (ถกล กุสโล) ได้ให้กำหนดคำบาลีว่า รกฺขาม อตฺตโน สาธํ (อ่านว่า รักขามัด อัตตะโน สาทุง) แปลว่า พึงรักษาความดีของตนไว้ (ประดุจเกลือรักษาความเค็ม) เป็นภาษิตประจำโรงเรียนชาวมหาวชิราวุธทุกคนล้วนภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสเข้า มาอยู่ในรั้วโรงเรียนมหาวชิราวุธ เนื่องจากเป็นโรงเรียนแห่งแรกของจังหวัดสงขลา ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เนื่องในวาระอันเป็นมงคล คือดำริจัดตั้งในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราช ทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้พระบรมนามาภิไธยเป็นนามโรงเรียน ต่อมา ทางโรงเรียนจึงได้อัญเชิญรูปวชิราวุธ มีรัศมี (วชิราวุธ – ศัตราวุธของพระอินทร์) เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
นอกจากนั้น ยังมีเหตุการณ์ที่ถือเป็นประวัติศาสตร์สำคัญของโรงเรียน คือ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมโรงเรียนมหาวชิราวุธ และในสมัยรัชกาลที่๗ พระ บาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาเยี่ยมโรงเรียนมหา วชิราวุธเช่นกัน นับเป็นความภาคภูมิใจแก่ชาวมหาวชิราวุธทั้งอดีตและ ปัจจุบัน ยิ่งโดยเฉพาะผู้มีโอกาสได้เข้าเฝ้า ดังเช่น พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นักเรียนมหาวชิราวุธ เลขประจำตัว ๑๖๗ ได้รำลึกถึงเหตุการณ์วันนั้นไว้ว่า
“เมื่อตอนที่ผมเรียนอยู่ชั้นมัธยม๔ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๖ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาเยี่ยมโรงเรียนของเรา... พระองค์ได้เดินมาใกล้โต๊ะที่ผมนั่งเรียนหนังสืออยู่ ตอนนั้นเรากำลังเรียน วิชาสรีรศาสตร์ เดี๋ยวนี้จะเรียกว่าอะไรผมไม่ทราบ และท่านก็อ่านออกเสียงสมุดที่ผมจดว่า “สะ- รี- ระ – ศาสตร์” แล้วก็ไม่ได้รับสั่งอะไร ทำให้เราภาคภูมิใจว่า โรงเรียนของเราพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างน้อยที่สุดก็สองพระองค์ได้เคยเสด็จมาทรงเยี่ยมโรงเรียนของเรา อันนั้นนอกจากจะเป็นเกียรติประวัติแก่โรงเรียนแล้ว ผมคิดว่าเป็นสิริ มงคล เป็นบุญ เป็นกุศล พระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อมโรงเรียน และนักเรียนของเราด้วย” พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับการศึกษาชั้นประถมปีที่๑ ที่โรงเรียนมหาวชิราวุธสงขลา เมื่อปีการศึกษา ๒๔๖๙ ได้รับหมายเลขประจำตัวนักเรียน๑๖๗ เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาที่ ๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘ ความผูกพันของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ต่อโรงเรียนมหาวชิราวุธ ปรากฏให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการ กระทำและคำพูด ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า
“ทุกครั้งที่มาสงขลา สิ่งที่นึกถึงอยู่เสมอก็คงจะมีสองอย่าง อย่างหนึ่งก็นึกถึงพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเรา เดี๋ยวนี้ท่านอยู่ที่วัดใต้ (วัดดอนรัก อำเภอเมืองสงขลา) อย่างที่สอง คือโรงเรียนที่เราเคยเรียนหนังสือมา ซึ่งก็ถือว่าเป็นพ่อแม่ทางวิชาการของเรา ตั้งแต่เราเป็นเด็กๆ ได้อาศัยเรียนหนังสืออยู่ที่นี่ ได้อาศัยบุญคุณของครูที่สอนหนังสือให้เราจนเติบโตขึ้นมา สามารถมีความรู้ไปประกอบอาชีพได้ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงบุญคุณของโรงเรียนมหาฯ ที่มีอยู่แล้วก็ใหญ่หลวงมาก เกินที่จะบรรยายให้ทราบได้ว่ามีความรู้สึกนึกคิดอย่างไร รู้อย่างเดียวว่าถ้าไม่มีโรงเรียนมหาฯ แล้วเราก็อาจจะไม่เป็นคนอย่างที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ หรืออาจจะเป็นคนที่ไม่ ดี เป็นคนที่ไม่มีประโยชน์ต่อสังคม เป็นคนที่น่ารังเกียจ แต่เมื่อโรงเรียน มหาฯ ได้ปั้นให้เป็นคนดี และสามารถมีความรู้ สามารถประกอบอาชีพได้ เพราะฉะนั้นก็ไม่มีปัญหาที่เราจะถือว่าโรงเรียนนี้ คือ พ่อแม่ทางวิชาการของเราตั้งแต่เกิดมา” พ.ศ.๒๔๗๙ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สอบเข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปลาย โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ได้ สำเร็จสมความตั้งใจของบิดา ซึ่งมุ่งหวังให้ลูกๆได้รับการศึกษาอย่างดีที่ สุด และในสมัยนั้นโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ขึ้นชื่อว่าเป็นโรงเรียนมัธยมชายอันดับหนึ่งของประเทศ ในช่วงนั้น บิดาได้ส่งลูกๆ เข้ามาเรียนต่อที่กรุงเทพฯ แทบทุกคน ลูกชายคนโตสำเร็จจากโรงเรียนสวนกุหลาบฯ กำลังทำงานพร้อมกับเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ลูกสาว เป็นนักเรียนประจำที่โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ ลูกชายอีกคนก็เรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบฯ เช่นกัน