

ทหารพรานแบ่งเป็น ๓ ประเภทตามภารกิจรับผิดชอบ ดังนี้
๑.ทหารพรานปราบปราม ผกค. ประกอบด้วย ทหารพรานประจำถิ่น ทหารพรานจู่โจม๒.ทหารพรานป้องกันประเทศ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการทหารบก อนุมัติให้จัดตั้งขึ้นเมื่อ ๒๓ กรกฎาคม ๒๕๒๓๓.ทหารพรานรักษาความปลอดภัยและจัดระเบียบในศูนย์อพยพ (บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา)
การจัดตั้งหน่วยทหารพรานในสมัยแรก ๆ มีปัญหามาก เพราะเจ้าหน้าที่ดำเนินการจัดตั้งบางหน่วยเข้าใจผิด คิดว่าเป็นหน่วยที่ใช้ในปฏิบัติการรุนแรง การฆ่าฟัน จึงนำพวกไม่กลัวตาย และนักเลงหัวไม้มาฝึกอบรม นอกจากนั้น ยังมีปัญหาด้านเจ้าหน้าที่โครงการด้วย ดังนั้น เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ผู้บัญชาการทหารบกจึงอนุมัติให้ส่งมอบหน่วยทหารพรานให้กองทัพภาคต่าง ๆ และกองกำลังป้องกันชายแดนจันทบุรี-ตราด ของกองทัพเรือ เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการทหารพรานทั้งสิ้น ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๒๓ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ กองทัพบกได้จัดตั้ง “กรมทหารท้าที่ ๔ รักษาพระองค์” ขึ้น นับเป็นกรมทหารม้ารถถังหน่วยแรกของประเทศไทยต่อมา ในปีเดียวกัน กองทัพบกได้จัดตั้ง “กองพลทหารม้าที่ ๒” ซึ่งเป็นหน่วยทหารม้ายานเกราะ พร้อมกับให้โอนการบังคับบัญชากรมทหารม้าที่ ๑ รักษาพระองค์ ตลอดจนหน่วยขึ้นตรง รวมทั้งโอนกรมทหารม้า (รถถัง) ที่ ๔ รักษาพระองค์ ไปขึ้นการบังคับบัญชากองพลทหารม้าที่ ๒ โดยได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “กรมทหารม้าที่ ๔” ตั้งแต่วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๒๒ และใน พ.ศ. ๒๕๒๓ กองทัพบกได้จัดตั้งกองพันทหารม้าที่ ๒๐ ขึ้นเป็นหน่วยในบังคับบัญชาของกรมทหารม้าที่ ๔ อีกหน่วยหนึ่ง นอกจากปฏิบัติภารกิจตามได้รับมอบหมายจากกองทัพบกแล้ว กรมทหารม้าที่ ๔ มีเกียรติประวัติได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี นอกจากนั้น ในปี พ.ศ.๒๕๒๔ กองทัพบกยังได้จัดตั้ง “กรมทหารม้าที่ ๕” ซึ่งเป็นกรมทหารม้ายานเกราะกรมแรก มีกองพันยานเกราะขึ้นการบังคับบัญชา ๓ กองพัน ได้แก่ กองพันทหารม้าที่ ๒๓ กองพันทหารม้าที่ ๒๔ และกองพันทหารม้าที่ ๒๕ ส่วนกองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบกว้างขวาง กองทัพบกได้จัดตั้งกองพลทหารราบที่ ๖ ขึ้น เพื่อรับผิดชอบภารกิจในกองทัพภาคที่ ๒ ด้านอีสานตอนล่าง และจัดตั้ง กองบัญชาการช่วยรบที่ ๑ ทำหน้าที่จัดกำลังพลป้องกันชายแดน เพื่อเพิ่มศักยภาพกองทัพ กองทัพบกได้จัดตั้ง ศูนย์ต่อสู้ป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก (ศปภอ.ทบ.) ในระดับกองทัพบกและกองทัพภาค มีกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานเป็นหน่วยรับผิดชอบดำเนินการ และจัดตั้ง ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธกองทัพบก (ศอว.ทบ.) กับ สำนักงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก กองทัพบก ยังคงกำหนดนโยบายเน้นการเสริมสร้างกำลังกองทัพให้เข้มแข็ง เพื่อให้สามารถเผชิญกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ โดยได้มุ่งเน้นเรื่องการปกป้องอธิปไตยของชาติ และการต่อสู้เพื่อเอาชนะสงครามปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว นอกจากนั้น พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของงานด้านกิจการพลเรือนของกองทัพบก จึงดำริให้จัดตั้ง กรมกิจการพลเรือนทหารบก โดยได้รับความเห็นชอบจากกองบัญชาการทหารสูงสุด และกระทรวงกลาโหม อนุมัติให้ดำเนินการเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔ และก่อตั้งขึ้นเมื่อ ๑๓ มกราคม ๒๕๒๕